สามพันโบก(ตอน2) อุบลราชธานี

จริงๆบริเวณที่เรียกว่าสามพันโบก จะอยู่ตอนกลางของเส้นทางท่องเที่ยวที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ตามแนวไหลผ่านของแม่น้ำโขง เราอยากจะแนะนำว่าหากมาแล้ว เพื่อซึมซาบกับภูมิประเทศอันสวยงามและเห็นวิถีชีวิตการจับปลาของขาวบ้านแถบนี้ อยากให้ขับรถมาจอดและขึ้น-ลงเรือที่หาดสลึงค่ะ  แต่ถ้าอยากจะดูแค่ลานหลุมบ่อก็แวะมาที่แก่งสามพันโบกได้เลย มีลานจอดรถและร้านอาหาร ร้านค้าสวัสดิการต่างๆแล้วจะเดินลงมาหรือนั่งวินมอร์เตอร์ไซด์ลงมาที่ลานโบก ส่วนตัวที่คิดว่าช่วงเวลาไม่ร้อนมากอย่างตอนเช้าและช่วงบ่ายแก่ๆเหมาะมาเที่ยวคะ

เราลงเรือที่หาดสลึง ค่าบริการเป็นธรรมและแจ้งไว้ที่กระดานชัดเจน เหมาลำ 1,000 บาทและจะมีพี่มัคคุเทศน์ลงเรือมาด้วยเป็นลูกมือคนขับและมาค่อยอธิบาย พูดคุยได้ความรู้ แม้จะฟังภาษาอีสานออกบ้าง เอออออไปตามเรื่องบ้าง ไม่มีราคาตายตัวสำหรับพี่เขาแนะนำตามแต่สินน้ำใจคะ เรามาต้นเดือนเมษายนปีนี้น้ำเยอะเนื่องจากจีนกำลังสร้างเขื่อนทำให้หาดสลึงจมน้ำ เรือเราขับทวนน้ำขึ้นมาที่ ปากบ้องเขตหมู่บ้านสองคอน พี่มัคคุเทศนืยังบอกว่าน้ำสูงตลิ่งที่เคยเห็นตระหง่ายเป็นสิบเมตรจึงเหลือประมาณครึ่ง  “ปากบ้อง” ตรงนี้เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด   เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ประมาณ 56 เมตร

ถัดขึ้นมาอีกหน่อยเป็น หินหัวพะเนียง บริเวณนี้ เป็นเกาะหินขนาดใหญ่แยกแม่โขงออกเป็นสองสาย พี่มัคคุเทศน์บอกว่าเกาะนี้ฝรั่งเศษระบุในแผนที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาว ทวงไม่ได้หรอกทั้งๆที่ควรเป็นส่วนกลาง  มองข้ามไปฝั่งลาวยังเป็นป่ารกชักและมีหาดทรายเล็กๆสวยงามมาก เราวกกลับลงมาผ่านลุ่มน้ำวนขนาดใหญ่มากและน่ากลัวมากยังไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายใหนเข้ามาสำรวจได้ แต่ตามความเชื่อที่เล่าต่อกันมาบอกว่าเป็นสถานที่ลึกลับและศักสิทธิ์ต้องห้าม คนพื้นเมืองเขาถือกัน ฉันคิดว่าเป็นบริเวณเหมือนสามเหลี่ยมเบอมิวด้าน่ะนะ  สองฝากของแม่โขงชาวบ้านจับปลาแบบใช้ยอ ดังนี้ปลาที่นี่รับรองปลาสดปลาเป็นอร่อยจริงและมีเฉพาะตัวโตๆ ฉันเห็นเขายกยอขึ้นมาเลือกและโยนปลาตัวเล็กตัวน้อยกลับคืนแม่โขงด้วย 

เขาผ่านสามพันโพกลงไปที่แก่งหินสีเพราะพระอาทิตย์กำลังตกดิน เป้นลานหินเวลาแสงกระทบหินสีจึงแลดูสวยงามงามบริเวณนี้เห็นหินอัคนี หินภูเขาไฟกระจัดกระจายกินบริเวณกว้างมากยังกับเดินอยู่นอกโลก ดีที่มีพี่มัคคุเทศน์มาด้วยบอกว่าควรเดินไปจุดใหนและดูอะไร ไม่งั้นคงหลงเพราะลานกว้างสุดลูกหูลูกตาทีเดียว สีดำๆทมึน มีพืชและต้นไม้บางชนิดลักษณะการเติบโตเป็นบอนไซ หากหินแตกเนื้อในหินบางก้อนเป็นสีดำนิล สีทองแดง กระทบแสงสวยมากมาย ส่วนดำๆกระทบแสงจะระยิระยับเช่นกัน และเหมือนโชคเข้าข้าง แดดมาให้เราเห็นแค่ห้านาทีก่อนลับขี้เมฆยามเย็น

หาดหงษ์ Sand dune

เราลงเรือขับทวนน้ำขึ้นมาที่หาดหงษ์ เป็นตลิ่งสันทรายสูงขึ้นมาขาวนวลนุ่มเท้า เดินขึ้นถึงสันทรายนี่เล่นเอาหอบเชียวคะ อีกฝั่งทางลาวก็มีเป็นหาดเล็กๆกระจัดกระจายน่านอนอาบแดดเช่นกัน แต่เรือฝั่งเราจะไปจอดหรือเทียบท่านี่ไม่ได้นะ จริงๆชาวบ้านเขารับรู้กันถึงแม้จะมีบ้างที่ไปยกยอริมตลิ่งฝั่งโน้น แต่หากไปจอดเรือหรือขึ้นฝั่งที่มีนักท่องเที่ยวก็จะมีทหารมาเลย คิดว่าหากลาวเปิดบริเวณนี้ เราต้องสูญเสียรายได้ท่องเที่ยวไปเยอะทีเดียวเพราะจากสภาพแล้ว สถานที่บริสุทธ์มาก

และจุดจอดเรือสุดท้ายคือแก่งสามพันโบก  พระอาทิตย์ตกดินพอดี บริเวณนี้หินจะเป็นหินทรายและคนละประเภทกับแก่งหินสีโทนสีก็ต่างกัน แก่งสามพันโบกออกสีชมพู สีโอรส สีครีมหวานโรแมนติกมาก อย่างที่บอกไว้ว่าปรากฎการน้ำวนธรรมชาติขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง กัดเซาะหินทรายในช่วงหน้าน้ำ และพอน้ำลดเราจึงเห็นทั้งเป็นโขดแนวหินตั้งตระงานแบบ แคนยอน และเป็นลานหลุม และบ่อที่มีน้ำขังจากน้ำใต้พื้นดินเป็นส่วนหนึ่งอันมหัศจรรย์ของแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ของโลกสายนี้ที่เรียกว่า .”แม่โขง”

สามพันโบก (ตอน1) จังหวัดอุบลราชธานี Sampan Borg#1, Ubonrachathani

การเช่ารถขับเที่ยวเองมีข้อดีหลายหลาย เช่นการที่เราบริหารจัดการกับเวลาและเส้นทางเองได้ อย่างอิสระ การเลือกถนนสายรองจราจรไม่คับคั่งทำให้เพลิดเพลินกับวิวสองข้างทางมาก ดอกไม้ป่าออกดอกสวยงามร่มรื่น ท้องฟ้าสว่าง ขี้เมฆขาวสะอาดและรู้สึกถึงความโรแมนติก รู้สึกชื่นใจเมืองไทยสวย คิดว่าหากมาฤดูกาลหน้าถนนทั้งสายก็น่าตื่นตาและแปลเปลี่ยนไปอีกแบบแน่ๆ เส้นทางใหม่ๆจากสายหลักแฟนเราก็ตื่นเต้นเพราะเธอเป็นอาสาสมัครสำรวจและจัดทำ Open Street Map.Org/Thailand การมีเพื่อนร่วมทางที่ดีก็ช่วยให้การเดินทางราบรื่นและเป็นสุขมาก ฉันเป็นคนขับแฟนช่วยเรื่องข้อมูลและเทคโนโลยีเป็นประโยชน์สูงสุด ปลายทางสำหรับวันนี้คือ สามพันโบกจังหวัดอุบลราชธานี เราออกเดินทางใช้เส้นขนานแม่น้ำโขง เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับชาวมุกดาหารและนักปั่นจริงๆจากตัวเมืองมุกดาหารมีเส้นทางจักรยานมีเกาะกลางแยกจากถนนใหญ่ ไร้กังวลเรื่องรถเชี่ยวชนขนานตลอดแนวยาวเป็นสิบกิโลเมตรจนถึงอุทยานด้วย

PlaiFarh Resort

เรามาถึงปลายฟ้า รีสอร์ท ตำบลสองคอนเอาตอนบ่ายๆ เราเช่าบังกะโลแยกเป็นหลังๆสะอากโอเคใช้ได้ แต่ชักโครกกดทีเสียงวี้ดวิ้วน่าตกใจ เราหิวจัดสอบถามกับเจ้าของรีสอร์เธอบอกว่านอกจากเพิงข้างทางแล้วก็ไม่มีร้านอะไรเลย เราจึงขับเข้าหมู่บ้านเพื่อมาลงเรือที่หาดสลึง เห็นป้ายสามสี่ร้านแต่เราเลือกมาร้านตามชื่อหาด มีที่จอดรถร้านหน้าตาเหมือนร้านอาหารตามสั่งทั่วไป ข้างๆเป็นร้านร้านคาราโอเกะของลูกสาว ทิวทัศน์แม่โขงสวยมากลมเย็นด้วย เราสั่งปลาคังผัดเผ็ด หมูกระะเทียมและไข่เจียวพร้อมข้าวสวยสองจาน แม่ครัวถามอย่างเป็นห่วงเป็นใยว่าแฟนเรา”กินเป็นใหม” หมายถึงจะกินอาหารไทยได้ไหม อาหารอร่อยและถ้ารู้ว่าจานใหญ่มากจานเดียวก็อิ่มทั้งคู่ เหลือไว้หนึ่งจานก่อนลงเรือคุณพ่อเจ้าของร้านบอกว่าขากลับให้มาแวะมารับที่เหลือข้าวจะอุ่นร้อนๆไว้รอ

ปลาคังผัดเผ็ด

ท่าเรือหาดสลึงชาวบ้านปากกะหลางรวมตัวกันเป็นสหกรณ์บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ราคาเช่าเรือเป็นธรรม (1,000 บาท/ลำ)แสดงราคาและกฎปฏิบัติอย่างชัดเจน ปีนี้มีการสร้างเขื่อนปล่อยน้ำลงมาเยอะ เนินทรายของหาดสลึงหายไป มีน้ำท่วมตลิ่งสูงด้วย และยังมีผลกระทบด้านนิเวศน์วิทยาและการดำเนินถีชีวิตอื่นๆของชาวบ้านเปลี่ยนไปด้วย เรามีพี่ไกด์ที่มีประสบการณ์มาคอยเล่าโน้นนี่ให้ฟังเป็นภาษาอีสาน งงบ้างจับใจความได้บ้าง กลับที่พักตอนเย็นยังอิ่มเราเลยนั่งดื่มเบียร์ที่ระเบียงชมดาว มีกลิ่นควันหอมๆฉุนๆฟุ้งมาจากครัว ถามได้ความและได้ติดมือมากินแกล้มเบียร์เป็น หนังควายจี่ อืม!!! แกงกับขี้เหล็กอร่อยและเคี้ยวง่ายกว่าเป็นร้อยเท่า  มีต่อตอนสองคะ…

ชาวบ้านจี่หนังควายและห่อหมกให้เราแกล้มเบียร์

Ploy Palace and Indochina Market, มุกดาหาร

Rooftop Swimming Pool,Ploy Palace

เนื่องจากต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่เพื่อจับเครื่องบินเที่ยวแรกจากเชียงใหม่มา อุดรธานี แล้วต่อด้วยขับรถทางไกลอีกสามร้อยกว่ากิโลเมตรมายังจังหวัดมุกดาหาร สิ่งสำคัญที่เราขอแฟนคือที่พักดีๆ เตียงนุ่มๆ แฟนเป็นนัก search engine ตัวยงแล้วเธอยังพิถีพิถันมากด้วย เธอจะลิสรายชื่อที่พักและข้อมูลให้เราเลือกเพื่อลดทอนลงมา จากนั้นเธอก็จะเจาะลึกในคอมเม้นท์จากเว็ปโน้นเพจนี้ก่อนที่จะจองผ่านเอเจนท์อีกที  “พลอย พาเลซ” เป็นตัวเลือกที่ดีมากเป็นโรงแรมห้าดาวระดับจังหวัด นอกจากสาธารณูปโภคครบครันแล้วเรื่องการบริการยังดีเยี่ยมมาตรฐานสากล บริการให้เรารู้สึกชื่นมื่นใจนี่คือข้อแตกต่างเพราะการที่เรามองหา โรงแรมทุกแห่งเกรดเหมือนหรือคล้ายกันกันในสิ่งอำนวยความสะดวกแต่หากพนักงานไม่ผ่านการฝึกอบรมที่ดี ไม่ว่าโรงแรมจะจ้างช่างภาพ กราฟฟิกหรือ นักการตลาดมือฉมังเพื่อสื่อทางออนไลน์ก็ตามทีคงไม่ช่วยได้มากในระยะยาว  ห้องสวยเราเลือกวิวแม่โขงที่สามารถเห็นประเทศลาว แต่ตอนเช้าแดดร้อนเปิดม่านไม่ได้เลย อาหารเช้าเป็นอินเตอร์ฯบุฟเฟ่ มีแม่ครัวมาทำเบื้องญวนสดๆด้วยและที่ประทับใจคือเขาเก็บดอกไม้สดๆในสวนมาประดับประดาน่ารักๆแถวโต๊ะบุฟเฟ่ด้วย หรืออย่างมีบทกลอนเล็กๆวางไว้บนหมอนหนุน(เสื่อถึงความเชื่อทางอีสานรับขวัญแขกมาค้างบ้าน)อวยพรให้นอนหลับฝันดี เห็นถึงความใส่ใจ เมตตาและอ่อนโยน น่ารักจริงๆ

แหนมเนืองจากร้าน มิสไซง่อน

ใกล้ๆโรงแรมเราออกมาเดินเล่นตลาดถนนคนเดินกลางคืนที่เปิดตั้งแต่ 4 โมงเย็น 2ทุ่ม จันทร์ ถึงศุกร์ เป็นตลาดเย็นที่ปิดเร็วมากสองทุ่มนี่แม่ค้าเก็บของกลับกันเกือบหมด ตลาดมีสองโซนคืออาหารพร้อมเดินกินเช่นปิ้ง ย่าง ข้าวห่อ ส้มตำ ฯลฯ หัตกรรมของฝากเล็กๆน้อยๆ เสื้อผ้า และส่วนที่สองคือกับข้าวใส่ถุงกลับบ้าน ไม่ได้มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งกินอย่างที่เชียงใหม่ เราเลยต้องเดินหาร้านอาหาร มาเจอร้านอาหารเวียดนามชื่อ “มิสไซง่อน” (สังเกตุว่าแถวอีสานอิทธิพลอาหารเวียดนามนี่มากโข) ร้านห้องแถวสองคูหา สะอาดสะอ้าน คงเพราะมุกดาหารเมืองเล็กไม่มีนักท่องเที่ยวพลุกพล่าน คงมีแต่คนท้องถิ่น ทั้งร้านจึงมีแต่เจ้าของร้านนั่งกินข้าวและดูทีวีอยู่ ตอนเดินเข้าไปต้องถามว่ายังเปิดอยู่ใหม (สองทุ่มกว่าๆเอง) เราสั่งมาสองสามอย่างอร่อยมาก หนึ่งจานที่ไม่พลาดคือแหนมเนืองที่ประทับใจคือเครื่องเช่น กล้วยดิบ มะนาว พริก กระเที่ยมฯ เขาหั่นสดๆ(ร้านส่วนมากหั่นเตรียมไว้)รสชาติหวานอร่อยมากจริงๆคะ

Khong River

ตอนเช้าเราเดินสำรวจตลาดอินโดจีนที่ห่างจากโรงแรมประมาณหนึ่งกิโลเมตร เป็นตลาดขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภคธรรมดา คาดว่านำเข้าจากจีน สินค้าไม่ได้ดึงดูดความสนใจให้เราซื้อ จะมีก็สีสันสดไสและรูปแบบชีวิตให้เราถ่ายรูป ศาลาริมโขงเป็นวิวที่สวยลมเย็นๆ ด้านล่างเป็นร้านค้าปลีกในร่ม เดินสบายมีสินค้าให้เลือกมากมายเช่นกันคะ  เราติดใจตะกร้าพลาสติกสาน ที่เจ้าของร้านนั่งสานเองระหว่างรอลูกค้า ร้านขายสมุนไพรสดและแห้ง ร้านขายผ้าลายพื้นเมือง(แต่ร้านส่วนใหญ่ขายผ้าพิมพ์ลายไม่ใช่ผ้าทอ) ที่ชอบอีกอย่างคือคนที่นี่ไม่คะยั้นคะยอแดกดันขายของอย่างตลาดอื่นๆ อื้อ! เจอ Tattoo Sticker  ด้วยอ่ะ สมใจคนอยากมีลายสักเช่นเรา

Handmade plastic weaving basket

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล,ร้อยเอ็ด Maha Chedi ChaimongKol, Roi-Et

มหาเจดีย์ฯมองจากมุมหลังวัด

“พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์” วิกกีพีเดียบอกไว้อย่างนี้ ตอนที่เราเก็บข้อมูลการเดินทาง จินตนาการแล้วคนที่ไม่สนใจถาวรวัตถุสถานอย่างเรา ยังอยากจะแวะชมสักครั้ง เราตัดสินใจเลือกแวะชมแทนไปเยี่ยมชมหมู่บ้านหัตกรรม

โถงทางเข้า และบรรไดขึ้นภายในเจดีย์

ภูมิประเทศบริเวณนี้เป็นเขาลูกเตี้ยๆกระจัดกระจาย จากถนนเส้นที่เราเดินทางจึงมองเห็นมหาเจดีย์โหญ่โตบนเขามาแต่ไกล ถนนลาดยางสองเลนสภาพดีมากและมีรถเข้าออกกันขวักไขว่ มีลานจอดรถและร้านขายของมากมาย แล้วต้องเดินขึ้นบรรไดขึ้นเขาอีกหลายร้อยขั้น แต่เราขับออ้อมเขาขึ้นไปเข้าประตูหลังวัดและทางเข้าเขตอุทยาน 

คงต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีนะคะกว่าจะเสร็จสมบุรณ์และคงต้องใช้เงินมหาศาลในการก่อสร้าง เติมแต่งและดูแลรักษาด้วยทราบมาว่าเริ่มก่อสร้างมาเกือบสามสิบปีแล้ว มิน่าผ่านหลายหมู่บ้านมีป้ายปิดตลอด “ห้ามเรี่ยราย” วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างบอกไว้สำหรับเป็นที่ทำกิจกรรมวิปัสนากรรมฐานและศูนย์รวบรวมสะสมปฏิมากรรมพุทธรูปปางต่างๆ รูปปั้น รูปภาพพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ตามความเชื่อความศรัทธาส่วนบุคคล คนคิดคนต่างมุมมอง การเปิดโอกาศให้ตัวเองได้รู้และสัมผัสแล้วนำมาตัดสินเอง หากผ่านมาทางนี้แวะดูกันเองคะ