ศาลเจ้าแห่งที่สองที่ขึ้นทะเบียนและคุ้มครองจากองค์กรยูเนสโก ของเมืองเกียวโตอีกแห่งเป็นที่นิยมและต้องแวะมาให้ได้นั่นคือ วัดทองหรือศาลเจ้าคินคะคุจิ (ถ้าใครดูการ์ตูน อิกคิวซังจะคุ้นเคยกับภาพวัดนี้ดี) วัดอยู่นอกเมืองเกียวโตเราต้องนั่งรถเมล์ประมาณครึ่งชั่วโมงคะ จากสถานีใหญ่หรือที่ป้ายจอดรถเมล์คะ มาเที่ยวเกียวโตขอแนะนำซื้อตั๋ววันนะคะไปใหนมาใหนง่ายและคุ้มจริง(ศึกษาเส้นทางและข้อมูลอื่นๆจากแผนที่และคู่มือท่องเที่ยวค่ะ) พี่มะลิชาวญี่ปุ่นเพื่อนคนสนิทที่เคยทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท่องเที่ยวที่เชียงใหม่พูดไทยชัดแจ่ว เธออาสาเป็นเพื่อนนำเที่ยวในทริปนี้ให้คะ ไปใหนมาใหนจึงค่อนข้างคล่องตัวและสบายใจหายห่วง เพราะเธอวางแผนและแนะนำสถานที่ให้เสร็จสรรพ การมาเที่ยวญี่ปุ่นครั้งแรกและคนเดียวจึงสนุกสนานมากๆ (ใครต้องการเพื่อนนำเที่ยวแบบเป็นกันเองติดต่อเรามาได้เลยคะ อิอิ)
จากโกโจเราขึ้นรถสองทอดมาลงที้ป้ายศาลเจ้าคะ สาย59ที่เราขึ้นมาผู้โดยสารค่อนข้างแน่นและมีนักท่องเที่ยวฝรั่งด้วย รู้เลยลงจุดหมายเดียวกันแน่ เดินข้ามถนนมาก็เจอร้านกระดาษซับหน้ามันเจ้าดัง ถัดมาอีกร้านเป็นร้านไอครีมชาเขียวเจ้าอร่อย หมายตาเอาไว้ตอนขาออกคะ ข้ามม้าลายก็เจอยามกำลังจัดคิวซื้อบัตร(400 เยน)เข้าศาลเจ้าคะ เราชอบการจัดระเบียบของศาลเจ้าตรงที่เขาจะทำทางเดินกรวดกว้างประมาณสองเมตร มีเชือกหรือรั้วไม้ไผ่เตี้ยๆกันขอบให้คนเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซ้ายขวาของทางเดินเป็นสวนสนและต้นเมเปิ้นสวย เขียวขจีด้วยมอสสนานาพันธุ์ ร่มรื่นแบบนี้แทบทุกศาลเจ้าที่ไปมา พระเอกของศาลเจ้าแห่งนี้คือศาลาทองอันเหลืองอร่ามกลางสระน้ำนิ่ง เงียบสงบแบบเซน ฉากหลังเป็นป่าเขาเขียวขจี พี่ยามจะพยายามจัดสรรให้คนเข้าออกและจัดมุมถ่ายรูปให้กับนักท่องเที่ยวอย่างไหลลื่น คนเยอะก็จริงแต่ไม่เบียดเสียดหรือแย่งที่กันน้อยมากคะ ดังนั้นทุกคนจะได้ภาพมุมศาสาทองนี้สำเนาเหมือนกันหมดคะเช่นกันค่ะ นกบนหลังคาเป็นนกฟินิกซ์ประจำวงตระกูลท่านไซออนจิ คิซึเนะอตีตเจ้าของบ้านก่อนจะกลายมาเป็นวัดหรือศาลเจ้าในปัจจุบันคะ ภายในศาลามีพระพุทธรูปหลายองค์หลายปรางสวยงามมาก มองด้วยตาเปล่าไม่ชัด แต่เดินออกมาสักหน่อยก็จะเห็นบอร์ดภาพและเจ้าหน้าที่อธิบายให้ทราบประวัติความเป็นมาคะ แต่จะกลับไปถ่ายรูปไม่ได้แล้ว ให้เดินหน้าอย่างเดียวต่อไปส่วนอื่นสวยสวยร่มรื่น มีศาลา น้ำตกและโยนเหรียญเสี่ยงทายสนุกๆ และจบที่การศาลเจ้าสำหรับใหว้สักการะและบูชา ขอพรตามความเชื่อส่วนบุคคลคะ